นี่คือจุดอันตรายที่พนักงานขายไม่ควรทำระหว่างการเจรจาเพื่อปิดการขาย
1. ลืมทำความเข้าใจความต้องการจริงๆ ของลูกค้า
ในการเจรจาแต่ละครั้งพนักงานขายไม่ควรออกนอกประเด็นความต้องการของลูกค้า เพราะหากลูกค้าซื้อสินค้า/บริการไปแล้วไม่สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างแท้จริง อาจส่งผลกระทบต่อ Brand ของธุรกิจ
2. คิดว่าการเจรจาเพื่อปิดการขายในแต่ละครั้งจะเป็นการสิ้นสุดและปิดการขาย
เพราะในบางครั้งรายละเอียดของสินค้า/บริการ อาจมีรายละเอียดค่อนข้างมาก การนัดหมายเจรจาปิดการขายแต่ละครั้งพนักงานขายไม่ควรทิ้งท้ายหรือบีบบังคับให้ลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้า/บริการ เพราะลูกค้าอาจไม่ได้รับข้อมูลที่ต้องการ
3. สับสนระหว่างสิ่งใดสำคัญหรือสิ่งใดไม่สำคัญ
ลูกค้าอาจสนใจการซื้อสินค้า/บริการ เพื่อนำไปแก้ปัญหา หรือด้วยเหตุผลต่างๆ พนักงานขายไม่ควรนำเสนอข้อมูลที่ไม่จำเป็นหรือไม่ตรงประเด็นความต้องการของลูกค้า
4. พูดมากเกินไป ไม่ยอมฟังความเห็นจากลูกค้า
พนักงานขายควรเปิดช่องว่างให้ลูกค้าแสดงความคิดเห็นว่ารายละเอียดต่างๆ ตรงความต้องการหรือไม่ และมีส่วนใดที่ลูกค้าต้องการข้อมูลเพิ่้มเติมอีกหรือไม่
5. พยายามปิดการขายทุกครั้งที่มีโอกาส
ถึงแม้จะเป็นเรื่องดี ที่พนักงานขายจะใช้เวลาปิดการขายในระยะสั้น แต่พนักงานขายควรคำนึงถึงความพึงพอใจของลูกค้าด้วย การที่ลูกค้ายังไม่ได้รับข้อมูลครบถ้วนหรือพึงพอใจแล้วพนักงานขายก็ยังรีบปิดการขายลูกค้าอาจปฏิเสธทันทีเพราะความเบื่อหน่าย
6. เจรจาโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่ตามมา
ทุกคำพูด ทุกการสื่อสารที่ไม่ประทับใจลูกค้าอาจส่งผลทันที หรือหลังจากการเจรจาปิดการขายเสร็จสิ้น
7. ใช้โปรโมชั่น ส่วนลด และสิทธิพิเศษอย่างไม่เป็นระบบ
การให้สิทธิพิเศษกับลูกค้าแบบไม่ลืมหูลืมตา อาจทำให้พนักงานขายไม่ได้รับความคุ้มค่าจากการปิดการขายที่ต้องมีการลงทุนสูงได้
8. ตอบรับทุกความต้องการเพื่อต้องการปิดยอด
ถึงแม้พนักงานขายปิดการขายได้ แต่ต้องแบกรับภาระที่ต้องไปดำเนินการต่างๆ อย่างมากมาย ส่งผลกระทบต่อหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
Source: Salesforce