3 สิ่งที่ทำให้ความคิดสร้างสรรค์และความคิดเชิงนวัตกรรมล้มเหลว

3 สิ่งที่ทำให้ความคิดสร้างสรรค์และความคิดเชิงนวัตกรรมล้มเหลว

 

ภาพจาก: http://www.innovationmanagement.se/

 

 

ถ้าคุณเริ่มคิดถึงกล่องข้าว คุณต้องระวังให้ดีที่จะใช้คำว่า “กล่อง (Box)” ภายในหัวคุณ, 

ซึ่งมันจะนำไปสู่ไอเดียต่อยอดอื่นๆ การใช้คำว่า “กล่อง” จะทำให้คุณคิดถึงสี่เหลี่ยม คิดถึงกล่องที่ปิดทึบ

ซึ่งเรา (แอปเปิล)  ค่อนข้างระวังมากในการที่จะใช้คำเหล่านี้ 

"เพราะนั่นจะนำไปสู่เส้นทางต่อยอดทางความคิด"

                                                                                                   - Jony Ive -

 

 

1. กรอบเดิม, แนวเดิม

ถ้าจะเริ่มสร้างอะไรใหม่ๆ แต่ยังยึดติดแนวทางแบบเดิมๆ คนเดิมๆ ความคิดเดิมๆ  ขอแนะนำให้เลิกทำซะเพราะสุดท้ายสิ่งที่ทำมาก็จะเหมือนเดิม ยกตัวอย่างง่ายๆ เหมือนแนวคิดของ เฮนรี่ ฟอร์ด ที่เขาเคยกล่าวว่า ถ้าเราต้องการยานพาหนะที่เร็วกว่าม้า แต่เรากลับไปนั่งดูว่าจะทำอย่างไรให้ม้าวิ่งเร็วขึ้น ทนทานและวิ่งไกลขึ้น  แบบนี้เราคงได้แค่ม้าที่ขาใหญ่ขึ้นรูปร่างดีขึ้น แต่คงจะไม่มีรถยนต์ใช้กัน  การสร้างความคิดสร้างสรรค์เพื่อก้าวสู่นวัตกรรมที่ดี จะต้องเป็นความคิดที่หลุดกรอบเดิมโดยสิ่งใหม่ที่คิดมาใหม่นั้นต้องเจ๋งกว่า ดีกว่า แก้ปัญหาได้ดีกว่า รวมไปถึงการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ไม่ใช่แค่การเพิ่มคุณภาพ ประสิทธิภาพ

 

2. กลัวผิด, กลัวแตกต่าง

เวลาที่เราเข้าไปในรถไฟฟ้าแล้วเห็นคนในนั้นยืนหมดไม่มีใครนั่งเลย  ถ้าเราเห็นแบบนี้หลายๆคนคงจะคิดว่าก็เขายืนกันเราก็ยืนตามสิ แต่ไม่เคยคิดจะสงสัยหรือสังเกตุให้ดีว่าด้วยเหตุผลอะไรที่ต้องเป็นแบบนั้น  ความคิดสร้างสรรค์กับการสร้างนวัตกรรมก็ไม่ต่างกัน ถ้าเราคิดจะทำอะไรสักอย่างให้เป็นสิ่งใหม่ ให้คิดให้ลองทำออกมาได้เลย มันเป็นไปได้ยากที่จะสร้างความสำเร็จในช่วงข้ามคืน แต่จงคิดเสมอว่าอย่างน้อยมันก็เป็นสิ่งใหม่ที่เราคิดเราสร้างมันขึ้นมา ถึงแม้จะแตกต่างก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี

 

3. กลัวความล้มเหลว, ความท้อแท้

หลายคนลองผิดลองถูกกับสิ่งที่คิดหลายครั้ง แต่เมื่อเจอสิ่งที่ผิดพลาดมากๆเข้าก็ท้อแท้แล้วล้มเลิกไปเลย เปรียบเทียบง่ายๆ เหมือนกับคนสมัยก่อน พวกเขารู้ได้อย่างไรว่าสมุนไพรชนิดไหนรักษาโรคอะไรได้บ้าง แน่นอนอยู่แล้วที่เขาต้องทดลองใช้สมุนไรพเหล่านั้นเพื่อรักษาโรคหลายๆครั้ง การกระทำในสมัยนั้นมีความยากลำบากแต่เมื่อสำเร็จขึ้นมาแล้ว คนในปัจจุบันก็สามารถนำองค์ความรู้เหล่านั้นมาใช้ในการรักษาโรคได้ ถ้าบรรพบุรุษเราไม่คิด ไม่ทดลอง และมีแต่ความท้อแท้ เราคงไม่ป่วยง่ายหายเร็วเหมือนปัจจุบันครับ

 

 

อีกจุดหนึ่งที่เราควรใส่ใจคือ ประสบการณ์เก่าๆ สิ่งนี้เป็นทั้งข้อดีและข้อจำกัดในการสร้างความคิดสร้างสรรค์ มันเป็นกรอบความคิดชั้นดีที่ทำให้เราไม่สามารถต่อยอดความคิดต่างๆได้ เช่น ถ้าเราจะเริ่มทำสินค้าอะไรบางอย่าง แต่กังวลเรื่องความเป็นมาตรฐานที่จะหลุดไปจากเดิม กลัวความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลง และกลัวการไม่ยอมรับสิ่งใหม่ ส่วนตัวผมคิดว่าถ้าเราตั้งใจที่จะสร้างความคิดสร้างสรรค์เพื่อไปสู่การสร้างนวัตกรรม มันก็ต้องลองเสี่ยงสักครั้งแล้วล่ะครับ ถ้าไม่กล้าก็จงนั่งพัฒนาสิ่งเดิมๆไป ไม่ต้องคิดสิ่งใหม่แล้วครับ

 

 

เรียบเรียงโดย : ฐิติรัตน์ กิณเรศ

 2021
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์