หน้าฟีดใครบ้างที่ไม่มี Meme เป็นไปไม่ได้เลย !!
90% บนโซเชียลมีเดีย ของเราทุกคนเต็มไปด้วย Meme สะท้อนถึงความนิยมของคอนเทนต์ประเภทนี้ และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วย
คอนเทนต์ Meme เรามักเห็นบรรดาเพจใหญ่หยิบนำมาเล่นกันอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะในต่างประเทศ ครีเอเตอร์ไทยก็นำมาเล่นกันอยู่ไม่น้อยทีเดียว และมักจะเห็นในรูปแบบของการมาครีเอทใหม่ในสไตล์ของตัวเอง แต่ก็ได้แรงบันดาลใจจาก Meme ต้นฉบับที่มีการส่งต่อกันอย่างแพร่หลาย
ขณะที่ฝั่งแบรนด์นั้นยังเห็นค่อนข้างน้อย ต่างจากแบรนด์ในต่างประเทศที่นิยมเอามาใช้เล่นกันสร้างสรรค์เป็นคอนเทนต์เรียนเอ็นเกจจากผู้ติดตาม ถือว่าเป็นเรื่องน่าเสียดาย เพราะคอนเทนต์ Meme ส่วนใหญ่จะได้รับความนิยมมากในกลุ่ม Millennials และ Gen Z และมีความนิยมที่เพิ่มไปสู่กลุ่มแมสมากขึ้นด้วย
ดังนั้น ถ้าแบรนด์มีเป้าหมายที่อยากจะสื่อสารกับคนรุ่นใหม ก็ไม่ควรมองข้ามการทำมาร์เก็ตติ้งผ่าน Meme ซึ่งเรามีคำแนะนำพร้อมตัวอย่างการใช้งานที่ประสบความสำเร็จมาให้ศึกษาพร้อมนำไปปรับใช้งานได้
เชื่อว่าไม่มีใครไม่รู้จัก Meme แต่เพื่อการขยายความและทำความเข้าใจร่วมกันมาทำความรู้จักรูปแบบคอนเทนต์นี้ให้ดีกันอีกสักหน่อย
Meme คือคอนแซ็ปต์ไอเดีย เป็นลักษณะภาพหรือ Gif. หรือข้อความ ก็ได้ ที่มีการแพร่หลายส่งต่อในโลกอินเตอร์เน็ต โดยคอนเซ็ปต์เนื้อหาของคอนเทนต์เป็นที่เข้าใจที่ตรงกันดีของคนส่วนใหญ่
ทั้งนี้ ความสำเร็จของ Meme เป็นที่ทราบกันดี ทั้งการเข้าถึงคนรุ่นใหม่ได้ สร้างเอ็นเกจเมนต์บนโลกออนไลน์ได้ดีเยี่ยม ดังนั้น นักการตลาดจึงไม่ควรมองข้าม และยังสามารถนำมาทำเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดได้ด้วย จนเกิดเป็น Meme Marketing ที่น่าสนใจและประสบความสำเร็จมาแล้วในต่างประเทศ ดังนั้น เราลองมาดูตัวอย่างกันว่าแบรนก์ไหนที่ทำแล้วปังกันไปบ้าง
นำเสนอผ่าน Black wojak memes (วอยัก-มีมการ์ตูนล้อเลียนผู้คนในโลกออนไลน์) ซึ่งเริ่มแพร่หลายตั้งแต่ปี 2020 แต่มาไวรัลเป็นกระแสจริงๆ เมื่อปลายปีช่วงเดือนธันวาคม และเกิดเวอร์ชันตลกขำขันเพิ่มขึ้นอีกมากมาย
แบรนด์ KAI Collections แบรนด์ชุดว่ายน้ำจากอียิปต์ ซึ่งปัจจุบันก็มีเสื้อผ้าลำลองจำหน่ายด้วย หยิบเอา Meme มาสร้างเป็นคอนเทนต์รูปแบบง่ายๆ มีมสาวผิวเข้มสองคนเจอกันทักกัน แต่สิ่งที่ทำให้สองคนกลายเป็นเพื่อนกันได้คือ ความชอบในเสื้อผ้าของ KAI Collections เหมือนกัน ประมาณว่าถ้าคุณใส่ KAI Collections เราคือเพื่อนกัน
แทนที่แบรนด์จะมาบอกว่า ตอนนี้มีคอลเลคชั่นใหม่ หรือโชว์ลวดลายของเสื้อผ้าตรงๆ ก็ปรับให้ตัวละคร Meme มาใส่เสื้อของแบรนด์ และสื่อสารออกมาอย่างง่าย ขายกันตรงๆ ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่น่าสนใจไม่น้อย
เมื่อแร็ปเปอร์ชื่อดัง Drake ปล่อยหน้าปกสําหรับอัลบั้ม “Certified Lover Boy” ออกมา ก็กลายเป็นไวรัลทันที ซึ่งในเวลาไม่นาน ผู้คนก็นำเอาหน้าปกของเขามาครีเอทใหม่ และเกิดเป็น Meme มากมาย ซึ่งแน่นอนว่าตัวศิลปินได้ประโยชน์จากการที่ชาวเน็ตนำมาสร้างเป็น Meme แต่ขณะเดียวกัน แบรนด์น้ำหอมอย่าง The Living Potion ก็หยิบ Meme นี้มาเล่นด้วย พร้อมกับนำเสนอโปรดักส์แต่ละชนิดไปบนภาพ Meme นั้นด้วย เป็นตัวอย่างการทำคอนเทนต์สนุกที่แบรนด์ได้ครีเอทออกมา
ตัวอย่างของความยอดเยี่ยมจาก Netfliex ที่สามารถสร้าง Meme ของตัวเองขึ้นมาได้ และแบรนด์ก็มักจะหยิบเอาไปใช้และสร้างมันในแบบของตัวเอง สำหรับงานชิ้นนี้ทำเพื่อโปรโมทซีรีส์เรื่อง Blood & Water ก็นำเอาภาพจากซีรีส์ออกมาท้าทายคนดู ว่าจะเลือกอะไรดีระหว่างซีรีส์ซีซันใหม่ที่กำลังมากับแผนในการพักผ่อน ซึ่งตรงกับอินไซต์ของคนมากมายที่นิยมดูสตรีมมิ่งในปัจจุบัน
อีกหนึ่งตัวอย่างของการใช้ Meme ผ่านคนดังอย่าง Oprah Winfrey พิธีกรชื่อดัง ซึ่ง Meme นี้มีที่มาจากประเด็นร้อนของการออกสื่อของ Meghan และ Harry โดยพิธีกรดังทำท่าทางยกมือขึ้นในทำนองไม่เห็นด้วยกับคำถามที่ว่า “Were you silent or were you silenced?” จนเกิดเป็นไวรัลว่อนเน็ต
ดังนั้น แบรนด์ Ruka ก็ได้สร้างสรรค์ Meme นี้ในเวอร์ชันของตัวเอง โดยหยิบเอาเพนพ้อยท์ของคนใช้เจลแต่งผมมาใช้ ในทำนองว่าจะแกล้งทำเป็นมองไม่เห็นเจลสีขาวบนเส้นผมแทนที่จะทำเป็นผมหางม้าลีบๆ ดีล่ะ แล้วก็ตอบรับด้วยท่าทางค้านสุดเสียงไม่เห็นด้วยของ Oprah นั่นเอง
สิ่งที่ทำให้ Meme ได้รับความนิยม เพราะมันเข้าถึงผู้คนได้ง่าย และกำลังอยู่ในความสนใจ ดังนั้น แบรนด์ควรจะระดมความคิดให้ดี คิดถึงบุคลิกของแบรนด์ตัวเองแล้วสร้างสรรค์ออกมาอย่างมีศิลปะก็จะทำให้งานของคุณทรงพลังได้
Meme นี้คนไทยน่าจะคุ้นเคยดีภาพของ Drake ที่แสดงอาการระหว่างไม่ถูกใจกับถูกใจใช่เลย แต่สิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆ ไม่ใช่เลย เป็นเพียงท่าเต้นในมิวสิควิดีโอของศิลปินเท่านั้น แต่ก็มีหลายเพจหยิบเอาไปใช้แซะไปจิกกัดกันมากมาย
ด้าน Diamond Express Travels บริษัทตัวแทนการท่องเที่ยวเดินทาง ก็เป็นหนึ่งในแบรนด์ที่หยิบเอามาใช้เล่นสนุกๆ โดยนำเอามาเปรียบเทียบการวางแผนเดินทางด้วยตัวเองกับใช้เอเย่นต์มาจัดการให้ ก็เป็นการสื่อสารง่ายๆ ที่ดึงมาให้เข้ากับธุรกิจที่ทำอยู่
อย่างไรก็ตาม คำแนะนำเพื่อให้เกิดความน่าสนใจและประโยชน์ไปที่แบรนด์ได้มากกว่า ก็อาจจะปรับมาใช้โลโก้หรือชื่อแบรนด์ใส่ลงไปเลย ก็จะสามารถสร้างการรับรู้ตัวถึงแบรนด์ได้มากกว่าที่จะพูดถึงธุรกิจตัวแทนการท่องเที่ยวแบบภาพรวมๆ
อาจเรียกได้ว่าเป็น Meme เก่าที่มีมานาน แต่คนก็ยังใช้กันอยู่เป็นระยะ เป็นภาพของผู้ชายที่หันไปสนใจผู้หญิงอื่นที่ดูน่าดึงดูดมากกว่าแฟนหรือคู่เดทของตัวเอง ซึ่งทำอีกฝ่ายไม่พอใจ (ใครจะทนได้ล่ะ) ถูกหยิบมาทำเป็น Meme ซ้ำแล้วซ้ำอีกเรียกได้ว่าหลายพันชิ้นเลยทีเดียว
Hydrop.io บริษัทน้ำจากอินเดีย ก็ได้หยิบเอามาเล่น อย่างง่ายๆ แต่สื่อได้ตรงเป้าหมายเลย โดยต้องการจะบอกว่า แหมมน้ำแบบ น้ำสภาพเป็นด่าง (pH>8.0) ย่อมน่าสนใจกว่าน้ำเปล่าธรรมดาอยู่แล้ว ใครจะไม่สนกันล่ะ ซึ่งน้ำประเภทนี้ก็เป็นที่สนใจของกลุ่มผู้บริโภคยุคใหม่อยู่แล้ว ดังนั้น การใช้ Meme เพื่อสื่อสารกับกลุ่มเป้าหมายถึงเป็นไอเดียทีดีมากทีเดียว
มาอีกแล้วกับภาพ Meme ของ Oprah Winfrey นั่นเพราะการใช้คนดัง ย่อมได้รับความสนใจง่ายกว่า (ดูอย่าง Drake เป็นต้น) อีกหนึ่งตัวอย่างของการใช้ภาพ Meme จากประเด็นร้อนระหว่าง Oprah และคู่ของ Meghan และ Harry
สำหรับกรณีนี้ Black Rooster Taqueria แบรนด์ร้านอาหารเม็กซิกัน ก็นำมาตั้งคำถามง่ายๆ กับคนกินว่า ทำไมต้องยุ่งยากกับแผ่นแป้งตอติลญ่าล่ะในเมื่อคุณสามารถกินสดๆ ได้จากข้าวโพดแท้ๆ แล้วคุณ Oprah ก็หันมาทำหน้าสนใจทันที
เป็นอีกหนึ่ง Meme เมื่อไม่นานมานี้ ภาพของ Kendall Jenner และ Kim Kardashian สองศรีพี่น้องที่ไปร่วมงานในงาน Met Gala 2021 ปีล่าสุด ซึ่งความเป็น Meme ยังคงคอนเซ็ปต์การหยิบยืมชื่อเสียงของคนดังมาทำเป็นภาพไวรัล
กรณีของเคสนี้ ได้แก่ Mypsomagen บริษัทด้าน Biotech ที่ต้องการโปรโมทสินค้าตัวใหม่ Gutbiome+ ซึ่งเป็นผลิตภัณณฑ์ที่ช่วยในการดูแลลำไส้ให้สุขภาพแข็งแรงและส่งผลต่อผิวพรรณ ซึ่ง Meme นี้ก็สื่อว่าถ้าใช้โปรดักส์ของแบรนด์ก็จะทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งน่ะเอง
เรียกว่า Meme ชิ้นนี้ได้ทำหน้าที่ของมันอย่างดีในการสร้างเสียงหัวเราะ แล้วยังทำให้คนเข้าใจและรู้จักโปรดักส์และแบรนด์ได้มากขึ้น
มีม Bernie Sanders ชิ้นนี้แตกต่างจากชิ้นอื่นๆ ตรงที่เป็นนักการเมืองไม่ใช่ศิลปินคนดัง แต่ค่อนข้างไวรัลมากทีเดียว ซึ่งมีหลายแบรนด์ก็นำไปใช้ กับประโยคที่เขากล่าวว่า “I am once again asking for you to …” ซึ่งแบรนด์อยากจะให้ทำอะไรก็แค่เติมไปในท่อนท้าย
สำหรับ Clean Skin Club แบรนด์การดูแลผิวพรรณ ก็หยิบนำมาเล่นเพื่อพูดกับผู้บริโภคว่า อยากให้ซื้อผ้าขนหนูสะอาดๆ มาใช้ ก็เป็นอีกหนึ่งมุกในการเล่นกับคนดูได้
ชิ้นนี้เป็น Meme ที่ผู้เขียนชอบมาก สำหรับภาพนี้มาจากภาพยนตร์เรื่อง Star Wars: Episode 2 Attack of the Clones ซึ่งแม้จะเป็นซีนที่ดูจริงจัง แต่หลายๆ ชิ้นก็ทำให้ดูตลกกับความหน้าตายของตัวละคร ซึ่งแม้ว่าจะเป็นหนังเก่าแต่พอถูกนำมายำใส่คอนเทนต์แปลกๆ เข้าไปก็ทำให้เนื้อหามีความสนุกแลแปลกใหม่
ดังเช่น แบรนด์ Purity Coffee ที่รู้จักที่จะนำเสนอข้อมูลทางวิชาการที่ดูออกจะยากและคนอาจจะไม่สนใจเลยก็ได้ นำมาสร้างสรรค์ใหม่ผ่านมีม แล้วทำให้คนดูรู้สึกว่ามันสำคัญและเข้าใจง่ายขึ้น มากไปกว่านั้นยังสร้าง benefit ให้กับแบรนด์ได้ด้วย
จัดว่าเป็น Meme ที่เพจเมืองไทยหยิบมาใช้ค่อนข้างบ่อยทีเดียวทำให้เราค่อนข้างคุ้นเคยกันดี สำหรับตัวอย่างอันนี้ค่อนข้างน่ารักทีเดียว จากแบรนด์ร้านสัตว์เลี้ยง Yappy ที่คนในภาพกำลังอธิบายว่า ไม่ใช่เรื่องยากสักหน่อยถ้าเราจะเลี้ยงน้องหมามากกว่า 4 ตัว เรียกว่าเป็นอารมณ์ขัดแย้งของภาพที่ดูจริงจังกับเรื่องที่น่ารักน่าชัง ผู้ชมดูแล้วก็อดไม่ได้ที่จะต้องกด laughing แน่นอน
อีกหนึ่ง Meme ที่มาจากภาพยนตร์ดัง White Chick ซึ่งแม้ว่า บทสนทนาในการตอบนั้นอาจจะไม่ได้เป็นไปอย่างที่คุณต้องการ แต่เสน่ห์ของ Meme ก็คือการใส่ความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้น คำพูดแคปชั่นคุณก็สามารถครีเอทโดยใส่ลงไปเองก็ได้เพื่อให้เกี่ยวข้องกับแบรนด์ อย่างเช่นที่ Telfar แบรนด์กระเป๋าทำ แต่แน่นอนว่าตัวภาพและแอคติ้งในภาพมันจะต้องสื่อสารออกมาได้ตรงกันด้วย
อีกรูปแบบที่น่าสนใจของ Meme ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะแค่รูปภาพ Gif. แต่ยังสามารถเป็นวลีฮิต หรือวลีดังได้อีกด้วย ตัวอย่างเช่นคำว่า “How It Started…How It’s Going” ซึ่งสื่อถึงจุดเริ่มต้น.. กับสิ่งที่มันจะเป็นไป (ยังปลายทาง) ซึ่งวลีนี้ไวรัลมากในทวิตเตอร์ต่างประเทศเมื่อปีที่แล้ว แต่ก็ยังมีคนเล่นกันอยู่จนตอนนี้ และแบรนด์กระเป๋าอย่าง Anima Iris ก็หยิบนำมาสร้างสรรค์ในแบบของตัวเอง โดยนำภาพของ CEO ของแบรนด์ ที่เริ่มต้นกับกองผ้าหนังกระเป๋าที่ออกจะยุ่งเหยิงนิดๆ ก่อนที่สุดท้ายกลายมาเป็นกระเป๋าใบงามให้ทุกคนได้จับจอง ซึ่งถือว่าเป็นไอเดียที่ดีมากๆ เลย
คงพอจะเห็นภาพคร่าวๆ ของการสร้างสรรค์ Meme Marketing กันบ้างแล้ว ซึ่งนอกจากจะช่วยทำให้เกิดการเอ็นเกจร่วมกับผู้ชมได้แล้ว ก็ยังสร้างการรับรู้แบรนด์ได้อีกด้วย ถ้าเช่นนั้นเราไปดูกันต่อถึงวิธีการที่จะสร้างสรรค์มันออกมาได้อย่างไร
เช่นเดียวกับกลยุทธ์การตลาดอื่นๆ การที่จะใช้ Meme Marketing จะต้องให้แน่ใจว่าสิ่งนี้ตรงกับตัวตนของแบรนด์ หรือความเป็นแบรนด์ของคุณด้วย มิใช่ว่าเห็นใครโดดแล้วก็ขอโดดตามลงไปเพราะไม่ต้องการตกขบวน ซึ่งไม่จำเป็นเลย
เพราะไม่ใช่ว่าทุก Meme จะเหมาะกับแบรนด์ของคุณ ดังนั้น ควรเลือก Meme ที่เหมาะสมกับแบรนด์ที่จะนำมาใช้ด้วย รวมไปถึงวิธีในการสร้างสรรค์ให้เหมาะสม
พูดง่ายๆ ว่าอย่าสร้างดราม่าเพิ่ม ข้อนี้ทำหลายแบรนด์พลาดมาแล้วมากมาย ซึ่งหลักคิดเบื้องต้นง่ายๆ ก่อนจะกระโดดลงไปร่วมแจมในไวรัลใดไวรัลหนึ่ง ลองพิจารณาดังต่อไปนี้
ถ้าคุณตอบว่า “ใช่” ในข้อใดข้อหนึ่ง อาจจะต้องทบทวนอีกทีว่าควรเล่นหรือไม่ควรเล่น
ไม่มีอะไรแย่ไปกว่าการตีความหมาย Meme ผิด แล้วสื่อออกมาผิด นอกจากคนดูจะไม่เก็ทแล้วอาจจะออกแนว “อิหยังวะ” ไปจนถึงมองว่าแบรนด์แก่โอลด์แฟชั่นไปเลย ดังนั้น เรามีไกด์ลิส์ง่ายๆ ให้คุณเช็คว่าจะทำตามกฎของ Meme แบบสร้างสรรค์ง่ายๆ ได้อย่างไร
Meme ก็มาจากสิ่งที่ไวรัล ดังนั้น เป็นไปไม่ได้เลยที่คุณจะเล่นตอนที่คนเลิกสนใจแล้ว ดังนั้น ในช่วงที่มันกำลังร้อนๆ และกำลังได้รับความสนใจการโดดลงไปของแบรนด์ พร้อมกับไอเดียที่สร้างสรรค์ นั่นย่อมทำให้คนเกิดความสนใจในตัวแบรนด์ของคุณได้ไม่ยาก
แม้ว่าการทำ Meme Marketing จะเล่นกับเรื่องสนุก เรื่องตลก แต่ไม่ใช่เรื่องง่าย ถือว่าเป็นศิลปะในการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่ค่อนข้างยาก นอกจากจะต้องเล่นไปตามกฎของ Meme นั้นๆ แล้ว ก็จะต้องไม่ลืมที่จะดึงเข้าหาแบรนด์ของเราด้วย แต่ถ้าทำสำเร็จก็จะได้ผลลัพธ์ที่ปังและงานที่ว้าวเตะตากลุ่มผู้ชมได้อย่างแน่นอน ดังนั้น นักการตลาดที่ดีไม่อยากตกเทรนด์ก็ควรเรียนรู้สิ่งใหม่และกล้าที่จะลองกับสิ่งใหม่ๆ ดู เพราะนั่นจะทำให้แบรนด์ของคุณโดดเด่นเกินหน้าใคร.
ที่มา : https://www.marketingoops.com/