ในฐานะเจ้าของธุรกิจหรือผู้ประกอบการที่กำลังเติบโต เราจำเป็นที่จะต้องเข้าใจจุดแข็งและจุดอ่อนของบริษัท เพื่อที่จะได้รับมือกับโอกาสและอุปสรรคที่เข้ามาในอนาคต วิธีที่ดีและคุ้มค่าที่สุดในการทำความเข้าใจกับบริษัทคือ การวิเคราะห์ SWOT
ในบทความนี้จะได้เรียนรู้เกี่ยวกับ
- การวิเคราะห์ SWOT คืออะไร?
- ทำไมต้องวิเคราะห์ SWOT?
- จะทำการวิเคราะห์ SWOT ได้อย่างไร?
การวิเคราะห์ SWOT คืออะไร?
SWOT คือการทำความเข้าใจกับบริษัทและธุรกิจเป็นระยะ เพื่อให้สามารถวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลในทางบวกและลบ การวิเคราะห์ SWOT ทำให้เราสามารถค้นพบศักยภาพที่แท้จริงของธุรกิจ
SWOT เป็นตัวย่อของ Strength, Weakness, Opportunity และ Threat ซึ่งเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ที่เรียบง่าย และมีประสิทธิภาพในการทำความเข้าใจและพัฒนากลยุทธ์ของบริษัท โดยการวิเคราะห์ปัจจัยภายในอย่างจุดแข็งและจุดอ่อน เช่น วัฒนธรรมของบริษัท พนักงาน และผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงปัจจัยภายนอกอย่างโอกาสและอุปสรรคต่าง ๆ เช่น คู่แข่ง ผู้ค้าปลีก นักลงทุน เศรษฐกิจปัจจุบัน และขนาดของตลาด ซึ่งเราสามารถใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสมในการคว้าโอกาสที่ดีและรับมือกับอุปสรรคที่เกิดขึ้นได้
การวิเคราะห์ SWOT ถูกคิดค้นโดย Albert Humphrey ในปี 1960 ซึ่งเป็นที่ปรึกษาด้านการจัดการที่ Stanford Research Institute บริษัทที่ติดอันดับ Fortune 500 โดยต้องการหาวิธีในการวางแผนเป้าหมายระยะยาวและความสำเร็จ
การวิเคราะห์ SWOT โดยทั่วไปควรเป็นอย่างไร?
ไม่ว่าเราจะทำงานคนเดียวหรือเป็นกลุ่ม การเริ่มต้นระดมสมองและความคิดอาจเป็นเรื่องยาก การวิเคราะห์ตามหลักการต่อไปนี้ จะทำให้ได้ข้อมูลที่ครบถ้วน
จุดแข็ง (Strength)
จุดแข็งคือปัจจัยภายในที่กำหนดความแข็งแกร่งและความสำเร็จของบริษัท เช่น พนักงาน ผลิตภัณฑ์ และบริการ สิ่งที่สำคัญที่สุดคือลูกค้าของเรารับรู้ถึงความแข็งแกร่งที่แท้จริงของบริษัทเรา เราสามารถวิเคราะห์และใช้เทคนิคที่ดีกว่าเพื่อเสริมความแข็งแกร่งให้ธุรกิจ ตัวอย่างคำถามที่ต้องหาคำตอบเพื่อการวิเคราะห์จุดแข็ง เช่น
จุดอ่อน (Weakness)
จุดอ่อนคือปัจจัยที่ส่งผลกระทบทางลบต่อธุรกิจ ข้อเสียหรือข้อจำกัดถือเป็นจุดอ่อน และเป็นปัจจัยภายในที่สามารถเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงได้ ตัวอย่างคำถามที่ต้องหาคำตอบเพื่อการวิเคราะห์จุดอ่อน เช่น
โอกาส (Opportunity)
โอกาสเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การสำรวจไอเดียใหม่ ๆ ซึ่งสามารถนำไปใช้ต่อยอดธุรกิจได้ โอกาสเป็นปัจจัยภายนอกอย่างหนึ่งที่ส่งผลในเชิงบวกกับธุรกิจ ตัวอย่างคำถามที่ต้องหาคำตอบเพื่อการวิเคราะห์โอกาส เช่น
อุปสรรค (Threat)
อุปสรรคก็เป็นปัจจัยภายนอกที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจของคุณในทางลบ ปัจจัยเหล่านี้อยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา แต่เราสามารถวางแผนรับมือล่วงหน้าและหาวิธีป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับธุรกิจ ตัวอย่างคำถามที่ต้องหาคำตอบเพื่อการวิเคราะห์อุปสรรค เช่น
ทำไมต้องมีการวิเคราะห์ SWOT
ทุกธุรกิจไม่ว่าจะอยู่ในขั้นใดต้องมีการวิเคราะห์เป็นระยะว่า บริษัทของเรามุ่งหน้าไปสู่อนาคตอย่างไร? มีคู่แข่งรายใหม่เข้าสู่ตลาดหรือไม่? เราสามารถเพิ่มรายได้ของไตรมาสนี้อย่างไร? และต้องคิดว่าอะไรที่ดีที่สุดสำหรับธุรกิจ? ไม่ว่าในกรณีใดการวิเคราะห์ SWOT จะช่วยให้เราเห็นโอกาสที่ดีกว่าซึ่งเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ ตัวอย่างประโยชน์ของการใช้ SWOT
1. ทุกคนสามารถทำได้
สิ่งที่ดีที่สุดของการวิเคราะห์ SWOT คือทุกคนสามารถทำได้ สามารถนำไปใช้กับบริษัทใด ๆ ในอุตสาหกรรมใด ๆ ก็ได้ และแม้แต่บุคคลก็สามารถลิสต์จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค และโอกาส ในการไปถึงเป้าหมายในชีวิตของพวกเขาได้
2. วาดตารางได้ง่าย
ความเรียบง่ายของการวิเคราะห์นี้ทำให้กลายเป็นที่นิยมมาก สิ่งที่ต้องทำคือแค่สร้างตาราง 4 ช่อง ตามอย่างในภาพด้านบน เท่านี้ก็สามารถทำการวิเคราะห์ SWOT ได้
3. ทำได้ง่าย
การวิเคราะห์ SWOT ไม่จำเป็นต้องมีการฝึกอบรมทักษะทางเทคนิคมาก่อน เพราะความเรียบง่ายของการวิเคราะห์ SWOT ทำให้ทุกคนสามารถเข้าใจและทำได้ง่าย
4. ต้นทุนต่ำ
เมื่อเปรียบเทียบกับเครื่องมือวิเคราะห์ทางเทคนิคอื่น ๆ การวิเคราะห์ SWOT นั้นไม่มีค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น สิ่งที่ต้องทำก็คือคิดจุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค และโอกาส ของบริษัทเท่านั้น
5. ให้ข้อมูลที่ครอบคลุม
การวิเคราะห์ SWOT นั้นใช้ข้อมูลเชิงปริมาณและเชิงปริมาตรจำนวนมาก การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียดสามารถนำไปสู่การตัดสินใจที่ดีขึ้นของบริษัท
ทำการวิเคราะห์ SWOT ได้อย่างไร?
การวิเคราะห์ SWOT นั้น ไม่มีวิธีการวัดที่ชัดเจนว่าเราทำได้ดีเพียงใด ทุกอย่างขึ้นอยู่กับความสามารถในการสังเกตและตระหนักถึงปัจจัยภายในและภายนอกที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจของเรา การวิเคราะห์ SWOT โดยทั่วไปต้องได้รับการตรวจสอบจากผู้มีอำนาจในการตัดสินใจของบริษัทหรือหัวหน้าแผนก อย่างไรก็ตามเราควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าแต่ละกลุ่มไม่ใหญ่เกินไป เพราะทำให้ยากที่จะรวบรวมและวิเคราะห์
เราสามารถเรียกทุกคนในแผนกมานั่งระดมสมองด้วยกัน ให้ทุกคนคิดถึงจุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรค และโอกาสของบริษัท เมื่อรวบรวมความคิดทั้งหมดแล้ว เราลองนำมาจัดเรียงและลบคำตอบที่ซ้ำกันได้ ขั้นตอนหลังจากนี้ค่อนข้างง่าย เพราะเราจะเห็นถึงข้อดีและข้อเสียต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน
ตัวอย่างการแสดงหน้าจอจากโปรแกรม myCRM
ใครที่ยังไม่เคยทำการวิเคราะห์ SWOT ลองมาทำกันเถอะ!
โดยโปรแกรม CRM ออนไลน์ ช่วยในการบริหารจัดการข้อมูลลูกค้าแล้ว ก็ยังสามารถวิเคราะห์ SWOT ได้ด้วยค่ะ
ขอขอบคุณบทความจาก : http://bit.ly/2mjC53v