ภาพจาก: www.veedvil.com
เคยมีช่วงหนึ่งที่การแข่งขันในตลาดคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมีความรุนแรงมาก กิจการใดที่สามารถส่งมอบคอมพิวเตอร์ได้เร็วกว่า ราคาถูกกว่า มักเป็นตัวเลือกแรกสำหรับลูกค้าเสมอ ในสมัยนั้น Apple มีปัญหาเรื่องการควบคุมสินค้าคงคลังทำให้มียอดขายพ่ายแพ้คู่แข่งอย่าง Dell สตีฟจอบส์จึงให้ความสำคัญในจุดนี้มาก เขาจึงจ้าง Tim Cook ผู้ที่เคยทำงานกับ Compaq และ IBM
ในปี 1998 Tim Cook มีอายุย่างเข้า 38 ปี ได้เข้าสัมภาษณ์งานกับสตีฟจอบส์และน้อยคนนักที่สตีฟจอปส์จะใช้เวลาในการสัมภาษณ์และสนทนากันได้อย่างเข้าขา หลังจากที่ Tim Cook ได้เข้าทำงานเขารีบจัดประชุมกับทีมงานจัดการห่วงโซ่อุปทานทันทีเขาได้เกริ่นด้วยน้ำเสียงที่จริงจังในที่ประชุมว่า
“ในตอนนี้การจัดการสินค้าคงคลังในโซนเอเซีย อยู่ในขั้นวิกฤติแล้วล่ะต้องมีใครสักคนไปที่จีนแล้วแก้ไขปัญหาเรื่องนี้” ระหว่างที่พูดเขาได้มองหน้าผู้จัดการโซนเอเซีย แล้วบอกว่า “แล้วคุณรออะไรอยู่”
Tim Cook บริหารงานอย่างจริงจัง ทำให้ระบบห่วงโซ่อุปทานของ Apple เป็นระบบมากขึ้นสินค้าคงคลังลดลง จำนวนสินค้าที่ซื้อตุนไว้เพื่อขายสำหรับ 1 สัปดาห์ ลดลงเหลือ 2 วันเขาปิดโรงงานที่ไม่จำเป็น ยกเลิกเทคโนโลยีเก่าๆ และวิธีการแบบเดิมๆ ทั้งหมดเพราะในสายตา Tim Cook เขาให้ความสำคัญกับสินค้าคงคลังมาก เพราะสิ่งนี้เป็นตัวชี้เป็นชี้ตายสำหรับธุรกิจขายสินค้า
เราวางแผนรายสัปดาห์แล้วนำไปปฏิบัติรายวัน และเราเคร่งครัดกับเรื่องนี้เพราะในธุรกิจนั้น สินค้าจะเสียเร็วพอๆกับนมบูดเลย ... ใน 1-2 ปีข้างหน้าผมอยากให้พูดถึงการควบคุมสินค้าคงคลัง เป็นชั่วโมงเลยไม่ใช่แค่เป็นวัน - Tim Cook -
|
…
หลังจากนั้น Apple มีกระแสเงินสดมากขึ้น และมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะถึงแม้ผลิตภันฑ์จะขายได้ด้วยคุณค่าของตัวมันเอง ระบบที่นำส่งสินค้าไปถึงมือลูกค้าก้จะต้องมีการบริหารจัดการที่ดีด้วยแต่การที่จะสามารถบริหารจัดการสินค้าคงหลังของธุรกิจเราได้ดีนั้น สำคัญคือเราต้องเข้าใจถึงธรรมชาติในการดำเนินธุรกิจของเรา และสภาพแวดล้อมรอบข้าง เพราะบางครั้งการควบคุมระบบมากเกินไป อาจจะส่งผลต่อการลดมูลค่าของตัวสินค้าเราได้
เรียบเรียงจาก : DIGITAL WARS
เรียบเรียงโดย : ฐิติรัตน์ กิณเรศ