062-310-6964     sale@getmycrm.com    

รู้ทัน! ทำไมซื้อของออนไลน์ชิ้นเดียวกัน พร้อมกัน แต่ได้ราคาไม่เท่ากัน

รู้ทัน! ทำไมซื้อของออนไลน์ชิ้นเดียวกัน พร้อมกัน แต่ได้ราคาไม่เท่ากัน

การที่ของชิ้นหนึ่งมีราคาเปลี่ยนไปในแต่ละช่วงเวลา หรือแม้กระทั่งซื้อในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ผู้ซื้อเป็นคนละคนกันก็อาจได้ราคาไม่เท่ากัน เหล่านี้เรียกว่า Dynamic Pricing ซึ่งแนวคิดการตั้งราคาแบบนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด เช่น ถ้าซื้อตั๋วเครื่องบินในช่วงเทศกาลจะต้องจ่ายแพงกว่า หรือเวลาเดินซื้อของตามตลาดนัด หากคุณแต่งตัวดูร่ำรวย แม่ค้าอาจบอกราคาสินค้าที่คุณแสดงท่าทีสนใจมากให้สูงไว้ก่อน เป็นต้น

และเมื่ออาวุธที่สำคัญที่สุดในธุรกิจยุคดิจิทัลนี้คือ “Data” ลูกเล่นที่ e-Commerce ชั้นนำจะใช้เพื่อให้เกิดผลกำไรสูงสุดจึงไม่พ้นการนำข้อมูลขนาดใหญ่มาวิเคราะห์เพื่อทำ Dynamic Pricing และหลายแห่งยังสามารถวิเคราะห์แบบ Real Time ได้ด้วย แล้วข้อมูลที่ได้ถูกนำมาใช้เพื่อทำ Dynamic Pricing มีอะไรกันบ้าง? มาดูกันครับ

1. ฤดูกาลที่ซื้อสินค้า ไม่ว่าจะซื้อของจากร้านทั่วไปหรือร้านขายของออนไลน์ ถ้าเป็นช่วงเทศกาลที่สินค้านั้นๆ มีความต้องการ เช่นซื้อดอกไม้วันวาเลนไทน์ ซื้อตั๋วเครื่องบินช่วงวันหยุดยาว หรือซื้อเสื้อหนาวตอนหน้าหนาว ราคาของสินค้าในช่วงนั้นก็จะแพงกว่าช่วงปกติ เป็นต้น

2. จำนวนคนที่สนใจ (Demand) ถ้าพบว่ามีผู้เข้าชมดูสินค้าตัวนี้เยอะ และมีอัตราการกดซื้อมากขึ้น ราคาสินค้าอาจปรับตัวสูงขึ้นในชั่วขณะ หรือแม้กระทั่งการเรียก Taxi ด้วย Application ในช่วงเวลาเร่งด่วน หรือเวลาฝนตก ราคาก็อาจจะสูงขึ้นเพราะ Demand ที่มากขึ้น

3. จำนวนสต็อกที่น้อยลง (Supply) บางทีพอสต็อกสินค้าหรือบริการบางอย่างเหลือน้อยๆ มาก เช่นจำนวนห้องของโรงแรมเหลืออยู่ 2 ห้องสุดท้ายแล้ว ก็อาจมีการขึ้นราคาได้

4. รุ่นมือถือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ ถ้าแม่ค้าตลาดนัดดูคนรวยหรือจนที่การแต่งตัว ระบบ e-Commerce บางแห่งก็คาดเดาฐานะของคุณจากรุ่นของมือถือหรืออุปกรณ์ที่ใช้เข้ามาซื้อของในเว็บไซต์ได้ครับ

5. พฤติกรรมบนโซเชียล สมัยนี้ Google และ Facebook รู้จักคุณยิ่งกว่าตัวคุณเองอีกนะครับ เพิ่งไปเที่ยวที่ไหนมา แอบชอบดาราคนไหนเป็นพิเศษ มีรสนิยมหรูหราขนาดไหน ข้อมูลพวกนี้สามารถนำมาคาดเดาว่า ควรจะขายอะไรให้คุณ และตั้งราคามากที่สุดที่เท่าไรคุณถึงจะยังอยากซื้ออยู่ ได้อย่างดีเลยละครับ

6. ประวัติการเข้าอ่านเว็บไซต์ของผู้ขายเอง ถ้าไม่มีข้อมูลจากแหล่งอื่นให้เก็บได้เลย บางเว็บไซต์ก็ใช้วิธีคาดเดาจากประวัติการเข้าชมบนเว็บไซต์นั้นเลย เช่นเข้าเว็บไซต์มาจาก Referral ที่ไหน เข้ามาแล้วอ่านหน้าไหน เปิดดูสินค้าตัวไหนแล้ว หรือเปิดอ่านแต่ละหน้านานเท่าไร เพื่อวิเคราะห์ความต้องการของคุณออกมาเป็นราคาที่คุณจะยอมจ่าย

ซึ่งการทำ Dynamic Pricing แบบนี้ ไม่ใช่ว่าจะทำให้ผู้ซื้อต้องจ่ายแพงแต่อย่างเดียว เพราะในทางกลับกันก็ทำให้ทางเว็บไซต์สามารถจัดโปรโมชั่นดีๆ ที่ทำให้เราซื้อของได้ถูก ชนิดที่ไม่สามารถหาราคานี้จากร้านค้าทั่วไปได้เช่นกันครับ ถ้าท่านผู้อ่านลองเข้าเว็บ e-Commerce ใดด้วยอุปกรณ์ที่ต่างกัน หรือลอง Clear Cache จาก Social ต่างๆ



ทีมา : https://www.thairath.co.th/

 23836
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์