Market Segmentation เรื่องสำคัญที่หลายธุรกิจมักจะมองข้าม แต่เป็นสิ่งที่ เจ้าของธุรกิจต้องรู้เพื่อเพิ่มยอดขายให้ปังด้วยการแบ่งกลุ่มการตลาด
Segmentation คืออะไร?
Segmentation เป็นหนึ่งในขั้นตอนของกลยุทธ์ STP ซึ่งหลายท่านน่าจะเคยได้ยินผ่านหูผ่านตากันมาบ้าง
ซึ่งมันประกอบไปด้วย
Segmentation – การแบ่งส่วนตลาด
Targeting – การเลือกตลาดเป้าหมาย
Positioning – การวางตำแหน่งทางการตลาด
บางธุรกิจอาจจะพอมีกลุ่มเป้าหมาย (Target) ในใจกันบ้างแล้ว แต่ก่อนที่คุณจะได้มาซึ่งกลุ่มเป้าหมายนั้น คุณได้ข้ามขั้นตอนแรก ซึ่งเรียกว่า segmentation ไปหรือเปล่า ซึ่งการแบ่งส่วนตลาด เป็นการจำแนกความต้องการของตลาดออกเป็นกลุ่มย่อย ๆ โดยพยายามรวมคนที่มีความต้องการที่คล้ายคลึงกันไว้ในกลุ่มเดียวกัน และแยกผู้ที่มีความต้องการแตกต่างกันเอาไว้คนละกลุ่ม
Segmentation มันสำคัญยังไง?
1. ช่วยจัดการข้อมูลต่าง ๆ ที่จะนำมาทำการตลาดได้
2. สามารถพัฒนาต่อยอดข้อมูลเชิงลึกของลูกค้า
3. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของลูกค้า และ สร้างความภักดีต่อแบรนด์ได้
4. เกิดการสร้าง Mass Customization ผลิตสินค้าจำนวนมาก แต่ยังมอบสินค้าได้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคแบบเฉพาะกลุ่ม
5. การบริหารต้นทุน และการจัดการทรัพยากร
6. สร้างฐานลูกค้าจากกลุ่มเฉพาะ (Niche Marketing)
7. ใช้ Data ในการโปรโมตแบรนด์
8. วัดผล และ ประเมินประสิทธิภาพงานได้ การได้ข้อมูลแบบเรียลไทม์จากหลาย ๆ แพลตฟอร์ม จะช่วยให้ธุรกิจสามารถรู้ และ ประเมินการเจาะตลาดของธุรกิจได้
9. อัปเดตข้อมูลให้ใหม่เสมอ ในการทำการตลาดแบบดิจิทัล ธุรกิจจะต้องมีความเข้าใจว่าข้อมูลที่เราได้มานั้นย่อมมีการเปลี่ยนแปลงได้
10. การมุ่งเน้นไปที่เป้าหมาย จุดประสงค์ที่สำคัญของการแบ่งส่วนตลาด คือ การรู้จักลูกค้าให้ดีขึ้น และตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4 วิธีการทำ Segmentation
อ้างอิงถึงการทำ segmentation แบบดั้งเดิม มีอยู่ 4 แบบด้วยกัน
Geographic (การแบ่งกลุ่มเป้าหมายตามภูมิศาสตร์)
- พวกเขาอาศัยอยู่ที่ไหน
- เป็นคนที่ไหน (เกิดที่ไหน)
- ทำงานหรือเรียนอยู่ที่ไหน
Demographic (แบ่งกลุ่มเป้าหมายตามข้อมูลประชากร)
- อายุเท่าไหร่
- เพศอะไร
- ทำอาชีพอะไร
- ระดับการศึกษาอะไร
- มีรายได้เท่าไหร่
- แต่งงานหรือยัง
- อยู่เป็นครอบครัวใหญ่แค่ไหน
Behavioural (แบ่งกลุ่มเป้าหมายตามพฤติกรรม)
- มี journey ของการซื้อของอย่างไร
- เสพสื่อแบบไหนประเภทไหน
- ใช้สินค้าและบริการอย่างไร
Psychographic (แบ่งกลุ่มเป้าหมายตามจิตวิทยา)
- มีความสนใจหรือหลงไหลเรื่องอะไร (passion)
- อะไรคือเป้าหมายชีวิต หรือมีอะไรเป็นแรงบันดาลใจ
- ความเชื่อในเรื่องต่างๆ
- ยึดถือเรื่องอะไรหรือรู้สึกรุนแรงกับเรื่องอะไรเป็นพิเศษ
วิธีการทำ Segmentation ด้วยโปรแกรม myCRM
1. กำหนดเป้าหมายตามจิตวิทยา (Psychographic) ระบุสิ่งที่ลูกค้าสนใจ ด้วยเมนู Lead โดยจะระบุสินค้าที่ลูกค้าสนใจ ความต้องการของลูกค้า ลงไปในหัวข้อ และระบบสามารถค้นหา สิ่งที่เราระบุตามหัวข้อได้เลยค่ะ
2. Customer จัดกลุ่มเป้าหมายลูกค้าใหม่ และลูกค้าที่มีการซื้อขายการอยู่แล้วให้ชัดเจน
โดยยกตัวอย่างดังนี้
- Lead (ผู้สนใจ) ถือเป็นลูกค้ารายใหม่ ที่ไม่เคยมีการตกลงซื้อขายกัน
- Contact (ผู้ติดต่อ) ลูกค้าที่มีการซื้อขายกันอยู่แล้ว แต่ออกในนามบุคคลธรรมดา
- Account (บริษัท) ลูกค้าที่มีการซื้อขายกันอยู่แล้ว แต่ออกในนามนิติบุคคล
หมายเหตุ เมนู Contact และเมนู Account สามารถเชื่อมโยงข้อมูลกันได้ โดย 1 Account จะมี Contact กี่รายก็ได้
3. แบ่งกลุ่มลูกค้าจากตามเขตการขายของบริษัท (Geographic) และโปรแกรมยังสามารถแยกลูกตามตาม ตำบล, อำเภอ, จังหวัด ได้อีกด้วยค่ะ