Social Proof คืออะไร ?
Social Proof คือ ปรากฏการณ์ทางจิตวิทยาที่ทำให้คนเราเชื่อใจกับความคิดเห็นของผู้อื่นในสังคมว่าส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมและการตัดสินใจ เช่น การหาข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงที่น่าเชื่อถือมาเป็นส่วนประกอบในการตัดสินใจบางอย่าง หรือเห็นคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมแล้วไปใช้บริการตามกระแสสังคม
ข้อดีของการมี Social Proof คือเสมือนช่วยการันตีว่าแบรนด์ของคุณนั้นดีและมีคุณภาพ เป็นโอกาสที่ลูกค้าจะตัดสินใจซื้อแบรนด์ของคุณไวขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคจะให้ความสำคัญกับ Social Proof พอๆ กับคอนเทนต์รีวิวจากอินฟลูเอนเซอร์ที่โด่งดัง หรือคำแนะนำจากเพื่อนหรือคนในครอบครัวเลยทีเดียว
วันนี้เราจะมาแนะนำการทำ Social Proof ที่แบรนด์ควรนำไปใช้งานกัน
1. การการันตีที่มีประโยชน์
นักการตลาดต้องทราบก่อนว่า Social Proof แต่ละอย่างมีจุดเด่นอย่างไร แล้วค่อยนำไปใช้ให้เหมาะกับแต่ละคอนเทนต์ เช่น นำไปใช้ในการรับรองความสามารถ (Certification) เช่น เอกสารรับรองความสามารถหรือได้รับรางวัลจากเวทีต่างๆ หรือการใส่ชื่อรางวัลการันตีต่างๆ ไปในโปสเตอร์ ก็จะทำให้แบรนด์ของคุณมีความน่าเชื่อถือขึ้น
ทั้งนี้ หากแบรนด์ของคุณเคยลงสื่อประเภทต่างๆ เช่น หนังสือพิมพ์ เว็บไซต์ พอดแคสต์ โดยใช้เป็น back link กลับไปที่ต้นทาง ก็ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือว่าแบรนด์ได้อีกทางหนึ่ง รวมถึงการรีวิวจากการใช้งานจริงของลูกค้าก็ช่วยเพิ่มน้ำหนักให้แบรนด์น่าสนใจขึ้น เพียงแต่ว่าในยุคที่อินฟลูเอนเซอร์ครองเมืองนั้น คงเป็นเรื่องยากที่คอนเทนต์จะสื่อสารออกมาแบบไม่ขายตรงเกินจริง
ดังนั้น จึงต้องระวังในการเขียนให้เป็น Word of mouth เพื่อที่คอนเทนต์ที่หนักแน่นและน่าเชื่อถือมากขึ้น
2. รับฟังคำติชม
หลายครั้งแบรนด์มักจะเจอการรีวิวหรือให้คะแนนด้วยอารมณ์ ดังนั้น ต้องระวังอย่าลบคอมเมนต์เหล่านั้น แต่ให้ใช้วิธีเอาคอมเมนต์ที่ดีมากลบรีวิวแย่ๆ เพราะคนที่กำลังจะตัดสินใจซื้อเขาจะพิจารณาได้เองว่าคอมเมนต์ของใครรีวิวด้วยประสบการณ์จริงหรือจ้องโจมตีแบรนด์
หากคุณกังวลว่าจะส่งผลเสียต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ คุณก็ควรตอบกลับด้วยความจริงใจว่าขออภัยในปัญหาที่เกิดขึ้นและคุณพร้อมจะนำปัญหาไปแก้ไข ก็จะช่วยลดความรุนแรงลงได้
3. เลือกใช้อินฟลูเอนเซอร์ให้มากขึ้น
นอกจากการแชร์ประสบการณ์ของผู้ใช้งานจริงแล้ว ไมโครอินฟลูเอนเซอร์ยังคงมีอิทธิพลที่ดี แม้ว่าคนยุคนี้จะอ่านคอนเทนต์แล้วรู้ว่าใช้งานจริงหรือจ้างรีวิว แต่อย่างน้อยไมโครอินฟลูเอนเซอร์ที่ให้ข้อมูลได้ครบและใช้งานจริง ยังคงช่วยเป็นข้อมูลที่ดี
แต่การรีวิวด้วยอินฟลูเอนเซอร์ก็ไม่จำเป็นต้องอัดแน่นด้วยข้อมูลหรือเนื้อหาแบรนด์ เพียงแต่รีวิวจากการใช้งานจริง ส่วนประกอบครบ ก็ช่วยให้เข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ได้อย่างเหมาะสม
4. แชร์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับธุรกิจ
อีกหนึ่งวิธีการสร้างความน่าเชื่อถือของแบรนด์คือการแชร์คอนเทนต์ต่างๆ ที่ไม่จำเป็นต้องเอ่ยถึงแบรนด์ของเราหรือสินค้าของเรา แต่มีความข้องเกี่ยวกับธุรกิจที่เราทำ เช่น กรณีศึกษา บทความตัวอย่าง หรือผลสำรวจที่มีประโยชน์
ในยุคที่คนนิยมอ่านรีวิว ความน่าเชื่อถือของแบรนด์ก็เลยกลายเป็นสิ่งสำคัญมาก ดังนั้น แบรนด์ควรวางแผนให้ดีและใช้หัวใจในการสื่อสารให้มากๆ เพื่อป้องกันเรื่องภาพลักษณ์ของแบรนด์ โดยพยายามยึดหลักการเป็นที่รักของคนออนไลน์กันนะคะ
ที่มา : https://techfeedthai.com/