ทำไมเราต้องหันมาให้ความสนใจการจัดการค้าปลีก ทั้งๆที่ค้าปลีกเกิดมาพร้อมกับโลกใบนี้ตังแต่สมัยโบราณกาล แต่ต่างกันตรงที่มันเปลี่ยนวิธีการบริหารจัดการด้วยการใช้กลยุทธ์ต่างๆเพื่อให้ทันต่อความเป็นยุคโลกาภิวัฒน์ ห่วงโซ่แห่งอุปสงค์อุปทานยังคงดำเนินไปไม่มีวันสิ้นสุดตราบใดที่มนุษย์ยังคงต้องดำรงเผ่าพันธุ์
ในอดีตสมัยก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 มนุษย์รู้จักการแลกเปลี่ยนของกินของใช้โดยยังสามารถใช้สิ่งของแลกอาหารหรือที่เรียกกันว่า Barter หลังจากนั้นวิวัฒนาการก็ดำเนินมาเป็นการซื้อขายโดยใช้ปัจจัย ร้านค้าปลีกเริ่มเกิดขึ้นตามตรอกซอกซอยใกล้แหล่งชุมชน ซื้อขายกันอย่างพื้นๆโดยมิต้องใช้กลยุทธ์ใดๆ การแข่งขันมีไม่มากหรือแทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้ ใครต้องการใช้อะไรก็ไปในที่ที่มีของนั้นๆขาย
จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ มีนายทุนทั้งไทยเทศมองเห็น ขุมทรัพย์ของการดำเนินธุรกิจค้าปลีกอย่างจริงจัง เกิดห้างสรรพสินค้า, สหกรณ์, ห้างค้าปลีกค้าส่ง จนมาถึงร้านสะดวกซื้อ ที่เห็นกันอยู่กลาดเกลื่อนในปัจจุบัน
แน่นอนการแข่งขันเริ่มมีมากขึ้น ผู้มีกลยุทธ์ที่เหนือกว่าเท่านั้นจึงจะสามารถรักษาส่วนแบ่งและขยายส่วนแบ่งตลาดได้และนั่นไม่ใช่เรื่องง่าย
โดยในปัจจุบันต้องยอมรับว่าธุรกิจค้าปลีกเป็นเค้กชิ้นใหญ่ที่หลายนายทุนต้องการเข้ามาชิงตลาดเนื่องจากเป็นสัดส่วนมหาศาลของรายได้ประชาชาติ อย่างที่เห็นในครึ่งปีแรกการเติบโตของธุรกิจค้าปลีกหดตัวลงจากที่คาดการณ์ไว้ที่ 12% เหลือเพียง 8% ทำให้มีผลกระทบถึงเงินในระบบหายไปถึง หนึ่งแสนล้านบาท
โอกาสในการทำเงินกับธุรกิจค้าปลีกมีอยู่มากมายไม่ว่าจะเป็นผู้ลงทุนทำการค้าปลีกเอง, ผู้ผลิตที่ต้องการเป็นคู่ค้ากับค้าปลีกรายใหญ่ๆ รวมถึงมือปืนรับจ้างที่เข้าไปนั่งแท่นผู้บริหารในอัตราค่าจ้างที่แสนแพง เขาทั้งหลายเหล่านี้จะโลดแล่นอยู่ในวงการนี้ได้ คงต้องมีเขี้ยวเล็บพอสมควรจึงจะสามารถดำเนินวิชาชีพนั้นได้อย่างไม่เป็นสองรองใคร
มาถึงตรงนี้คงอยากรู้เพิ่มขึ้นแล้วใช่ไหมว่าปัจจุบันค้าปลีกจำแนกเป็นกี่แบบและกลยุทธ์สำคัญในการบริหารค้าปลีกมีอะไรบ้าง การจะเป็นทีมงานบริหารค้าปลีกต้องมีความสามารถอย่างไร, การจะทำให้ลูกค้าพอใจ, การเพิ่มยอดขาย, การสร้างกำไร และหรือ การจะเป็นคู่ค้าใหม่, คู่ค้าที่เหนียวแน่นและทรงไว้ซึ่งประโยชน์อย่างยั่งยืนต้องทำอย่างไร
ที่มา: entraining