ภาพจาก: http://www.slideshare.net/_TheFamily/the-tactics-and-strategy
คำนิยามของ "คุณค่า" มีหลายความหมายแต่หากธุรกิจใดสามารถนำมาปรับใช้ในธุรกิจของตนเองได้ มักจะทำให้ธุรกิจนั้นเติบโต และสรรค์สร้างสิ่งต่างๆได้มากมาย กรอบด้านล่างนี้ Tyler Willis ได้ให้คำนิยามว่า การสรรค์ร้างคุณค่าให้กับธุรกิจนั้นต้องอาศัยปัจจัยหรือเทคนิคต่างๆ ที่ตอบโจทย์ในด้าน 1.การทำในสิ่งที่ถูกต้อง 2.สร้างเครื่องมือในการเติบโต และ 3.เทคนิคในการแลกเปลี่ยน
1. Do the right thing: VALUE > GROWTH > EVERYTHING ELSE
การสร้างคุณค่าให้กับตนเองนั้นย่อมส่งผลดีมากกว่าผลเสีย สังเกตง่ายๆ เหมือนบ้านเรา ถ้าร้านกาแฟเป็นธุรกิจที่เฟื่องฟู หลายๆ ร้านมักจะใช้ Business Model คล้ายๆ กัน คือ เป็นร้านเล็กๆ มี Internet WiFi แต่ถ้าเราสร้างคุณค่าให้กับตนเอง เช่น ลักษณะการตกแต่งร้านก็เหมือนคนอื่น แต่เสริฟ์เฉพาะกาแฟ Organic ที่ไม่ผสมน้ำตาล และส่วนผสมอื่นๆ เพื่อให้คอกาแฟได้ลิ้มรถคุณค่าของกาแฟชั้นยอดจริงๆ แบบนี้อาจจะสร้างความแตกต่างและสร้างการเจริญเติบโตในสายธุรกิจกาแฟ Organic ได้
2. Build a growth engine
การสร้างเครื่องมือในการเจริญเติบโตนั้นมีหลายแนวทาง ที่เห็นได้ชัดและควรให้ความสำคัญ คือ
SPEED WINS (การเติบโตด้วยความเร็ว)
ให้มองถึงการแข่งขันจักรยานมารธอน แต่ละคนจะใช้เทคนิคกลยุทธ์ต่างๆ ที่แตกต่างกันเพื่อให้ตนเองเป็นผู้ชนะ เช่น อาจจะปั่นเบาๆ ตอนต้น แล้ว Sprint ตอนท้าย
AGILE MARKETING (วางแผน, เร่งรีบ และทำซ้ำ)
การทำ AGILE ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่เป็นเรื่องท้าทายในการทำธุรกิจปัจจบัน สมัยก่อนผู้บริโภคมักสนใจสินค้า/บริการที่มีคุณสมับติที่ดี แต่ปัจจุบันนี้พวกเขาจะชอบสิ่งที่ตอบสนองความต้องการได้เร็วกว่า การทำ AGILE MARKETING ถูกพัฒนามาเพื่อสิ่งนี้ โดยวิธีคิดง่ายๆที่ใช้คือ การกำหนดเป้าหมายระยะสั้น, การตั้งและทดสอบสมมติฐาน, การใช้ข้อมูลเป็นตัวนำ และการต่อยอดความสำเร็จด้วยการลงทุนเพียงหน่วยเดียว
สมการของการเติบโตที่น่าสนใจ การสร้างคุณค่า > การเติบโต > เพื่อสรรค์สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง ศักยภาพดีเยี่ยม = จำนวนผู้สนใจ + ความปรารถนาสินค้า + ความยั่งยืน การตลาด = ข้อมูล + ความคิดสร้างสรค์ กระบวนการ = ความสามารถ x ระยะเวลาสั้นๆ
|
3. Tricks of trade
เทคนิคในการแลกเปลี่ยน (การค้า) ในที่นี้อาจจะหมายถึงการสื่อสารด้วย หลายๆ ธุรกิจสื่อสารข้อมูลระหว่างกันผิดพลาด ไม่มีกลยุทธ์หรือแนวทางที่ชัดเจน เหมือนกับเรื่อง การตลาดถ้าเราสื่อสารผิดพลาด อาจจะเป็นผลเสียต่อการเติบโตของธุรกิจเรา
SYSTEM MESSAGING (การส่งข้อความอย่างเป็นระบบ)
นี่ไม่ใช้ SMS แน่นอนแต่เป็นการวางพื้นฐานด้านการสื่อสารของธุรกิจเราว่าจะต้องสื่อสารแบบใด ด้วยคำพูดใดที่จะสร้างการรับรู้ และความเข้าใจระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค
CO-BRANDED GROWTH (กำหนด Brand ให้เติบโตในทิศทางเดียวกัน)
เป็นการกำหนดเป้าหมายของการสื่อสาร Brand ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ณ ปัจจุบันเราใช้สื่อ Social Media ค่อนข้างเยอะ สิ่งที่ผิดพลาดคือ แต่ละสื่อไม่ได้สื่อสารไปในทิศทางเดียวกัน เช่น เราใช้ Facebook ลงข้อมูลสินค้า แต่ใช้ Youtube อธิบายกิจกรรม CSR ที่เราจัด ซึ่งวิธีการนี้จะทำให้ผู้บริโภคหาคุณค่า และจุดยืนของธุรกิจเราไม่เจอ
CO-REG-PATH (กำหนดการเป็นสมาชิกให้อยู่ที่เดียวกัน)
หลายเว็บไซต์อนุญาตให้ผู้บริโภคใช้บัญชีต่างๆ ที่มีอยู่แล้วนำมาเป็นข้อมูลในการลงทะเบียนเป็นสมาชิกในเว็บไซต์ของตน แต่ความหลากหลายนี้อาจจะมาพร้อมความเสี่ยงของการสูญเสียข้อมูลบางอย่างที่เราต้องการอย่างแท้จริงจากผู้บริโภค แต่ข้อดีคือ เราสามารถบูรณาการและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างบัญชีต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น เราสามารถทราบรสนิยมของผู้บริโภครายนี้ได้ดีว่าเขาชอบอะไรจากการศึกษาผ่าน Facebook
SOCIAL RECIPROCATION (การตอบสนองทางสังคม)
ธรรมชาติของการสื่อสารต้องมีผู้ส่งสารและผู้รับสาร แต่ในปัจจุบันผู้รับสารมีมากกว่าเดิมหลายเท่า สิ่งที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญ คือ การสื่อสารในแต่ละครั้งจะมีผลตอบรับจากผู้บริโภคอย่างไร ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าสินค้าของเรามีตำหนิแล้วต้องเรียกสินค้าเหล่านั้นกลับเราจะสื่อสารอย่างไรให้เป็นประโยชน์ต่อตนเองและอยู่ภายใต้ความเป็นจริง ตัวอย่าง Apple เคยมีปัญหาเกี่ยวกับช่องเสียบหูฟัง วิธีการก็คือ การอนุญาตให้ลูกค้านำสินค้ามาเปลี่ยนและรับ Case ได้พรี เป็นต้น
…
พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงเร็วมากเพราะตอนนี้ถือว่าเป็นยุคของสารสนเทศอย่างเต็มตัว ธุรกิจใดๆ ที่จะก้าวผ่านจุดนี้ไปได้ต้องมีกลยุทธ์ที่ดีตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและสร้างมูลค่าด้วยคุณค่าของธุรกิจเราเอง ถ้าเรายังยึดติดกับแนวทางเดิมๆ ใช่ เราอาจจะยังอยู่ได้ แต่การเติบโตและความยั่งยืนนั้นอาจจะยากหน่อย
เรียบเรียบจาก : TheFamily
เรียบเรียงโดย : ฐิติรัตน์ กิณเรศ