062-310-6964     sale@getmycrm.com    

จะเป็นบุคลากรชั้นยอดสำหรับองค์กรได้อย่างไร?

จะเป็นบุคลากรชั้นยอดสำหรับองค์กรได้อย่างไร?

 

ภาพจาก: http://www.maclife.com/

 

 

1. แต่งกายให้ดี

เสื้อผ้า แบบฟอร์ม รวมถึงบุคลิกภาพเป็นการสื่อถึงองค์ความรู้และพื้นฐานของบุคคลนั้นๆ การแต่งกายให้ดีที่สุดนั้นคือ การแต่งกายให้ถูกกาละเทศะ ถูกเวลาและสถานที่

 

2. เรียนรู้ทุกสิ่งทุกอย่าง ใส่ใจทุกรายละเอียดในการทำงาน

องค์ความรู้ในสมัยนี้มีอยู่มากมาย เมื่อเทียบกับอดีต คือ ใครที่มีแหล่งการเข้าถึงองค์ความรู้มากกว่าถือว่าได้เปรียบกว่า แต่ ปัจจุบัน คือ ใครขยันกว่ามักจะเรียนรู้ได้มากกว่า เทียบง่ายๆ เหมือนกับ Steve Jobs ที่ใช้เวลาส่วนตัวไปเรียนรู้เกี่ยวกับการออกแบบอักษรทำให้ Macintosh มี Font ที่สวยงาม ทั้งที่เมื่อดูดีๆแล้วเรื่องการออกแบบอักษร ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเลย และสินค้าของ Apple แต่ละตัวนั้นมีการผสมผสานอย่างลงตัวระหว่างความสวยงามและคุณสมบัติ การออกแบบที่ละเอียดละออไปถึงทุกเส้นทุกอนู ย่อมสร้างผลิตภันฑ์ที่แตกต่างและเหนือจินตนาการได้ ลองกลับมานั่งดูตัวเราสักหน่อยว่างานที่เรา "ละเอียดไหม?"

 

3. มาทำงานให้ตรงเวลา

เราไม่รู้ว่าในแต่ละวันเหตุการณ์อะไรจะเกิดขึ้นบ้าง ถ้ามีวันหนึ่งสินค้าของเราติดปัญหาหลักในกระบวนการผลิต แต่เรามาทำงานช้า ทำให้การแก้ไขปัญหาช้า แน่นอนอยู่แล้วที่จะส่งผลกระทบไปยังความพึงพอใจของลูกค้า ดังนั้นเรื่องของเวลาไม่ใช่แค่เรื่องของวินัย แต่มันยังเป็นต้นทุน หรือค่าเสียโอกาสที่จะเกิดขึ้นทั้งๆ ที่เราสามารถควบคุมมันได้แท้ๆ

 

4. ใช้เครื่องมือในการทำงานด้วยความเชี่ยวชาญ

บางคนใช้เวลาในการทำงานที่นานกว่า ทั้งๆที่องค์ความรู้ในงานเท่ากันแต่ความต่างเรื่องของเวลาการทำงานของคน 2 คนนั้น ปัจจัยหลักคือความเชี่ยวชาญในการใช้เครื่องมือนั่นเอง เช่น พนักงานซ่อมรถคนแรกใช้เวลาขันสกรูล้อรถ 10 นาที เพราะเลือกไขควงนานว่าไขควงอันใดถึงจะใช้ร่วมกับสกรูนี้ได้ และต้องทดลองหมุนไป หมุนมาหลายครั้งกว่าจะลงตัว แต่พนักงานซ่อมรถอีกคนสามารถเขันสกรูล้อรถได้ 5 นาที เพราะมีความรู้และทราบอยู่แล้วว่าสกรูขนาดนี้ต้องใช้ไขควงชิ้นใด ถ้าให้เลือกพนักงานซ่อมรถ 2 คนมาเปลี่ยนล้อรถของคุณ คุณจะเลือกใครล่ะ?

 

5. คาดการณ์และวางแผนการทำงานด้วยความชาญฉลาด

หลายคนบ่นเองว่างานเยอะ เพราะอาจจะมีการวางแผนและลำดับงานแบบไม่รัดกุม เทคนิคที่ดีในการลำดับแผนงานที่ดีนั้นอาจจะใช้แนวทาง 80:20 ของ Pareto คือ งานไหนที่มีความสำคัญ 80% แต่มีปริมาณ 20% ให้รีบทำก่อน ส่วนงานไหนสำคัญ 20% แต่มีปริมาณ 80% ให้ทำลำดับรองลงมา ก็จะช่วยให้เราจัดการกับคิวงานที่มีจำนวนมากได้ง่ายขึ้น

 

6. ให้ความเคารพ นับถือการตัดสินใจของหัวหน้างาน

หัวหน้างานเป็นบุคคลที่คอยสนับสนุนการทำงานของเรา ในบางครั้งการตัดสินใจของทั้งสองฝ่ายอาจจะมีความขัดแย้ง เราควรพึงระลึกว่าการตัดสินใจของทั้งสองฝ่ายนั้นสุดท้ายแล้วเป้าหมายจริงๆคือ ต้องการให้ชิ้นงานนั้นสำเร็จ การนับถือการจัดสินใจของหัวหน้างานจะช่วยให้สร้างการยอมรับของทั้งสองฝ่าย มิฉะนั้นแล้วเราก็จะสูญเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์แบบไม่ได้อะไรกลับมาเลย

 

7. ตอบสนองอย่างรวดเร็ว รายงานเหตุการณ์และติดตามความคืบหน้าอย่างสม่ำเสมอ

ลองคิดง่ายๆว่า ถ้าเราต้องการให้ใครสักคนไปสำรวจเส้นทางในการเดินทาง สิ่งที่เราจะกังวลในหัวจิตหัวใจคือ เป็นยังไงบ้าง? เส้นทางเป็นยังไง? มีสิ่งกีดขวางหรือไม่? การทำงานก็เช่นเดียวกัน เมื่อเรารับทราบผลจากการปฏิบัติงานแล้วก็ควรรีบที่จะรายงานข้อมูลให้หัวหน้าทราบทันที เพราะบางครั้งข้อมูลหรือสิ่งที่เราปฏิบัตินั้น หัวหน้างานจะใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจหรือดำเนินการขั้นตอนต่อไป "ไม่ใช่ว่าให้ลดเวลาทำงานให้สั้นลง แต่เป็นการตอบสนองให้เร็วขึ้นเท่านั้นเอง"

 

8. เริ่มทำงานก่อนเวลา และเลิกงานช้าได้ถ้ามีเหตุจำเป็น

คำว่าเปิดก่อนได้เปรียบ ยังเป็นคำที่ใช้ได้อยู่ปัจจุบัน  ดอกไม้ที่รับแสงอาทิตย์ก่อนก็จะเบ่งบานได้ก่อน คนเรามีเวลาเท่ากันแต่อยู่ที่ใครจะเริ่มใช้เวลานั้นก่อนหลัง ดังนั้นการเริ่มงานก่อนเวลาจะสร้างโอกาสในการพัฒนาความรู้ความสามารถและเตรียมความพร้อมในการทำงานได้ก่อน ลองสำรวจตนเองดูว่าเมื่อเรามาถึงที่ทำงานตามเวลาเริ่มงานแล้ว สิ่งแรกที่เราทำนั้นคืออะไร เริ่มลุยงาน หรือ เปิดคอมฯ

 

9. ปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้ดี ให้เกียรติและมีสัมมาคาระวะ

ในองค์กรมีคนหลายแบบ แต่คนหลายแบบเป็นคนที่เราทำงานด้วย การทำงานของแต่ละคนไม่มีถูกไม่ผิด จะมีแค่ตรงใจหรือไม่ตรงใจเราเท่านั้น หลายคนทำงานไม่สำเร็จเพราะมีเหตุผลบางอย่าง หน้าที่ของเราคือ ควรให้เกียรติในการปฏิบัติ การตัดสินใจแก่เพื่อนร่วมงาน ถ้าเห็นข้อผิดพลาดเกิดขึ้น หน้าที่ของเราไม่ใช่เข้าไปซ้ำเติม แต่ควรเป็นการหยิบยื่นคำชี้แนะ วิธีแก้ปัญหาและกำลังใจที่สวยงาม

 

10. ทำงานให้เต็มความสามารถ ด้วยความเต็มใจ ไม่ใช่เพราะหวังผลตอบแทน

มีเส้นบางๆระหว่าง งานเสร็จ กับ งานสำเร็จ  คำว่า งานเสร็จ อาจะนิยามภาษาง่ายๆ ว่าเสร็จตามกำหนดการ ตามงบประมาณ หรือตามกรอบที่กำหนดไว้ แต่ยังไม่สำเร็จถึงเป้าหมายหรือวิสัยทัศน์ที่แท้จริงของสิ่งที่เราทำ ยกตัวอย่างเช่น ถ้า Apple Computer คืิดจะทำเครื่องมือบางอย่างตามงบประมาณที่ตนเองมี (ทำงานในโรงรถ) คงจะทำได้แค่ ระบบประมวลผลลดความเร็วข CPU ของ Computer Mainframe แต่พวกเขาต้องการทำงานให้สำเร็จตามวิสัยทัศน์ คือ Personal Home Computer สำหรับคนทั่วไปเช่นคุณ

11. เรียนรู้วิธีการทำงานที่ดีจากหัวหน้าและเพื่อนร่วมงานที่มีความสามารถ

สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร เราย่อมเป็นเช่นนั้น แต่เราเลือกที่จะคัดกรองสิ่งเหล่านั้นมาปรับใช้ในชีวิตของเราได้ ในองค์กรมีบุคคลมากมายหลายแบบ แต่ละคนคงไม่มีใครจะเป็นสูตรสำเร็จตายตัว วิธีการที่ดีที่สุดที่เราจะพัฒนาตนเองได้ดีนั้นคือ เอาจุดดีของหัวหน้า เพื่อนร่วมงาน มาปรับปรุงหรือพัฒนาตัวเราเองให้ดีขึ้น  การเรียนรู้ไม่ใช่การเลียนแบบแต่เป็นการศึกษาวิธีการที่ดีที่สุด ที่เหมาะสำหรับเราเพื่อตัวเราอและองค์กร

 

12. จัดสรรเวลาที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เวลาการทำงานส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 8-10 ชั่วโมง ในบางครั้งเราอาจจะต้องทำงานล่วงเวลาเพราะสาเหตุบางอย่าง ถ้างานเสร็จไม่ทันเพราะเกิดปัญหาจากผลงานที่เราทำเองและถ้ามันเกิดเหตุการณ์นี้บ่อยครั้ง เราต้องสำรวจตัวเองแล้วล่ะว่า เราใช้เวลาส่วนใหญ่ทำอะไร พัฒนาสิ่งใหม่ หรือสร้างขยะ

 

13. ลงทุน ลงแรง ในการใช้ชีวิตในองค์กรให้มากขึ้น เพราะเป็นรากฐานหลักของชีวิต

การลงทุน ลงแรงไม่ใช่การทำงานอย่างบ้าคลั่ง แต่เป็นการเสริมทักษะองค์ความรู้ในงานให้มากขึ้น (เสริม input มากขึ้น) ถ้าเรานั่งสำรวจดีๆ จะพบว่าชีวิตนี้เรามี 2 ด้านจริงๆ คือ ด้านทีทำเพื่อตนเอง กับ ด้านที่ทำเพื่อคนอื่น ดังนั้นการที่เราอยู่ในองค์กรที่มีการทำงานหนักหน่วงแสดงว่า อาจจะเป็นอีกด้านหนึ่งที่องค์กรนั้นมีวิสัยทัศน์ในการจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับบุคลากรและสังคม

 

14. ลดการเสียดสี นินทา และเปรียบเทียบความสามารถของตนเองกับเพื่อร่วมงาน

ธรรมชาตของการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ย่อมมีความพอใจ ไม่พอใจเกิดขึ้นแน่นอน แต่ทั้งนั้นถ้าเราเอาเวลาที่นินทา เสียดสี หรือขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์มาเป็นการสะท้อนและผลักดันความสามารถของบุคคลากรในองค์กรร่วมกัน คิดดูว่ามันจะมีการพัฒนาไปมากขนาดไหน

 

15. แยกปัญหาส่วนตัวกับงานที่ทำ

เหมือนดังที่กล่าวในข้อที่ 14 คือ ชีวิตเรามี 2 ด้าน การสร้างสมดุลที่ดีที่สุดคือการแยกทั้ง 2 ส่วนออกจากกันให้ชัดเจนถ้าเป็นไปได้ ในโลกนี้มีนวัตกรรมสุดยอดที่แบ่งแยกชัดเจนคือ กลางวัน และกลางคืน เราไม่สามารถนำทั้ง 2 สิ่งนี้มาปนกัน เพราะจะทำให้เกิดความสับสนและไม่สำเร็จสักอย่าง

 

 

15 แนวทางนี้เป็นการกลั่นกรองจากประสบการณ์และแนวทางที่อยากจะให้บุคคลากรเป็น ทุกคนล้วนมีแนวทางในการปฏิบัติตนที่แตกต่างกัน แต่ถ้าเราลองปฏิบัติตามแก่นหรือแนวทางนี้แล้วอาจจะช่วยให้เราเป็นบุคคลากรที่มีคุณค่าในองค์กร อย่างน้อยก็ได้เป็นต้นแบบให้กับบุคคลากรรุ่นใหม่ๆ

 

 

ฐิติรัตน์ กิณเรศ

 1256
ผู้เข้าชม
สร้างเว็บไซต์สำเร็จรูปฟรี ร้านค้าออนไลน์